1. พันธุกรรมเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของผมร่วง ยีนที่เกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของเส้นผมสามารถได้รับจากพ่อหรือแม่ หรือทั้งสองท่านผู้ชายจะได้รับผลกระทบเป็นส่วนใหญ่
2. ด้วยผลการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเตอโรน) กระตุ้นการเกิดผมร่วง
3. การได้รับยาบางชนิดทำให้ผมร่วงได้ เช่น ยารักษามะเร็ง ยารักษาโรคความดันสูง โรคเก๊าท์ เป็นต้น
4. ได้รับการฉายแสงเพื่อรักษาโรคบริเวณหนังศรีษะ
5. ภาวะความเครียด บางท่านมีความเครียดสะสมหลายเดือนทำให้เกิดอาการผมร่วงได้
6. การใช้สารเคมี ที่ผม และหนังศรีษะมากเกินไปเช่น เจลใส่ผม น้ำยาย้อมผม หรือแว็กส์ผม หรือเกิดอาการแพ้ที่หนังศรีษะรากผมเสียหายและผมหลุดร่วงได้
7. อายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้รากผมไม่แข็งแรงไม่เดิม
8. การปรับเปลี่ยนทรงผมบ่อย ทำให้เส้นผมได้รับการตัด ความร้อน การดึง การยืดผม
9. การใช้ชีวิตประจำวัน บางท่านต้องสวมหมวกตลอดเวลา หรือทำงานในที่ที่มีฝุ่นละอองเยอะ ทำให้หนังศรีษะสกปรก หมักหมม
การปลูกผม เป็นการศัลยกรรมย้ายเซลล์รากผมหรือที่เรียกว่ากราฟท์ (Grafts) จากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่ง เช่นย้ายรากผมหรือขนหน้าอกไปปลูกที่ศรีษะ โดยเทคนิคการปลูกผมแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ FUT (Follicular Unit Transplantation) และ FUE (Follicular Unit Extraction) เมื่อได้เซลล์รากผมแล้ว จึงนำกลับมาปลูกบริเวณที่ต้องการ เช่น ปลูกที่บริเวณหนังศรีษะล้าน ปลูกคิ้ว ปลูกหนวด
การปลูกผมเราจะทำการย้ายเซลล์รากผมหรือขน จากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่ง เนื่องจากเป็นผมถาวรที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรม หรือจากฮอร์โมนเพศชาย โดยสามารถเห็นผลรักษาชัดเจน ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย สามารถสร้างเส้นผมใหม่แทนที่ผมที่ร่วงบางไป
การปลูกผม เทคนิค FUT เป็นการปลูกผมแบบผ่าตัด คือ จะมีการตัดหนังศรีษะด้านหลังพร้อมรากผมออกมาในปริมาณที่ต้องการ และเย็บปิดแผลหนังศรีษะ แล้วนำไปหั่นแยกรากผมออกมาทีละกราฟ แล้วนำไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ
การปลูกผม เทคนิค FUE เป็นการปลูกผมแบบเจาะ ศัลยแพทย์จะมีการใช้เครื่องมือพิเศษเจาะเอาเฉพาะรากผมออกมาทีละกราฟ แล้วนำไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ
การปลูกผมแต่ละเทคนิคมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ละเทคนิคขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของปัญหาแต่ละบุลคล เช่น บางท่าน ต้องการปลูกผมที่ต้องใช้ปริมาณกราฟเป็นจำนวนมากกว่า 2,500 กราฟ จะเหมาะกับการปลูกผมเทคนิค FUT เพราะสามารถปลูกได้มากถึง 4,000กราฟในแต่ละครั้ง
เทคนิค FUT เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกผม ที่ต้องใช้กราฟผมจำนวนมาก
ข้อดี
• ใช้เวลาน้อยกว่า
• เซลล์รากผมที่ออกมาสมบูรณ์รากผมไม่ขาด
• สามารถปลูกผมในจำนวนที่มาก
ข้อเสีย
• อาจมองเห็นแผลเป็น
เทคนิค FUE เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องใช้เซลล์ผมจำนวนไม่มาก ประมาณ 2,000 กราฟ เพราะกรณีมีการเจาะจำนวนมาก จะทำให้ผมในบริเวณที่เจาะบางลง และการเจาะเอารากผม ทีล่ะกราฟใช้เวลาค่อนข้างนาน ขึ้นอยู่กับความชำนาญของศัลยแพทย์
ข้อดี
• ไม่มีแผลเป็น
• สามารถใช้ผมหรือขนบริเวณอื่นเช่น หน้าอก หน้าท้อง หรือหน้าแข้ง มาปลูกแทนผมได้
ข้อเสีย
• ผมที่ท้ายทอยบางลง
• ใช้เวลาในการปลูกผมนาน
• ถ้าศัลยแพทย์ไม่ชำนาญในการเจาะรากผม รากผมอาจไม่สมบูรณ์ทำให้เมื่อนำไปปลูกอาจทำให้ผมขึ้นไม่ดี
โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล ปลูกผมเทคนิค FUT ราคาเฉลี่ยกราฟละ 40-50 บาท ปลูกผมเทคนิค FUE ราคากราฟละ 90 - 100 บาท
ค่าใช้จ่ายในการปลูกผมขึ้นอยู่กับจำนวนรากผม(กราฟ)ที่ต้องการจะปลูก การประเมินค่าใช้จ่าย โดยปกติปลูกผม FUT ราคากราฟละ 45-50 บาท เทคนิค FUE ราคากราฟละ 90-100 บาท อย่างไรก็ตามควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษจากศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญปลุกผม หรือ ส่งรูปของท่านผ่านทาง email รูปถ่ายเพื่อรับการประเมินจะต้องเป็นรูปดังนี้ หน้าตรง ก้มหน้า ด้านข้างซ้าย-ขวา และด้านหลัง
ได้ผลจริง โดยผมที่ทำการปลูกจะถูกย้ายมาจากบริเวณอื่นที่ผมไม่เกิดการหลุดร่วง ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่จะทำให้ผมร่วง แล้วย้ายมาปลูกได้ในบริเวณที่ต้องการ ผมที่ทำการย้ายมาปลูก จะมีคุณลักษณะเหมือนผมเดิมทุกประการ สามารถขึ้นได้ตามปกติ สามารถตัดแต่งทรงผมได้ตามปกติ
หลังการปลูกผม 2-4 สัปดาห์ ผมที่ได้รับการปลูกจะเริ่มร่วง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะผมที่ติดมาจากรากผมแต่เดิมจะมีการยาวขึ้นเล็กน้อยแล้วจะร่วงไป เพื่อรักษาเซลล์รากผมที่ปลูกไว้ให้มีชีวิตอยู่และแข็งแรง แล้วจะเกิดการสร้างผมเส้นใหม่ขึ้นมาแทนโดยจะใช้เวลา 3 เดือนขึ้นไป หรือบางท่านอาจจะเป็นปีขึ้นกับความสมบูรณ์ของรากผม อาจจะมีผมบางเส้นที่ไม่หลุดร่วง และยาวต่อได้ แต่พบน้อยมาก
ระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่จะได้ผลพึงพอใจคือ 8- 10 เดือน ระยะแรกหลังการผ่าตัด เส้นผมจะร่วงไปก่อนโดยรากผมจะ เข้าสู่ระยะพักประมาณ 4 เดือน จึงเริ่มงอกขึ้นมาใหม่ อัตราการยาวของเส้นผมจะเท่ากับเส้นผมปกติตามธรรมชาติ ดังนั้น ระยะเวลาที่ผมจะยาวทันกันและให้ผลปรากฏที่สวยงาม จึงอยู่ที่ประมาณ 8-10 เดือน
พบประมาณ 30% จะเริ่มขึ้นหลังผ่าตัด 3 เดือน,
40% หลังผ่าตัด 4 เดือน,
50% หลังผ่าตัด 5 เดือน,
60% หลังผ่าตัด 6 เดือน,
70% หลังผ่าตัด 7 เดือน และ
80% หลังผ่าตัด 8 เดือน ผมที่ทำการปลูกแล้วประมาณ 8 เดือน จะมีการโตอย่างต่อเนื่อง คุณจะพบว่าผมใหม่โตเต็มที่ใน 12 เดือน
ผมที่ปลูกจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดปลูกผมจะมีผมขึ้นแน่นอน แต่ความหนาแน่นและความพึงพอใจขึ้นกับจำนวนกราฟท์และพื้นที่ที่ทำการปลูก ในส่วนนี้แพทย์จะให้คำแนะนำเมื่อเข้ารับการปรึกษาอีกครั้ง
1. อายุระหว่าง 25-65 ปี
2. ขึ้นอยู่กับชนิดของหัวล้านว่าเป็นแบบไหน สามารถมีผมมาปลูกได้เพียงพอหรือไม่รับการปรึกษากับศัลยแพทย์ปลูกผม โดยทั่วไปคนที่อายุน้อย เช่น ช่วงวัยรุ่นหรือประมาณอายุ 20 ต้นๆ อาจจะไม่เหมาะสมเพราะว่า เป็นการยากที่จะประเมินถึงการเกิดผมร่วงที่อาจมีมากขึ้นในอนาคต สำหรับปัจจัยอื่นที่แพทย์จะพิจารณา คือ ปริมาณผมที่จะนำมาปลูก ขอบเขตของพื้นที่ที่ผมร่วง ประวัติครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับผมร่วง ลักษณะของเส้นผมแต่ละคน และความคาดหวังของคนไข้
3. สุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัวบางชนิดที่มีผลต่อการผ่าตัดปลูกผม เช่น เลือดออกง่าย, เลือดหยุดยาก โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ ต้องให้แพทย์ผู้รักษา ให้ยาควบคุมอาการของโรคดังกล่าวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนเข้ารับการปลูกผม
4. ไม่สูบบุหรี่
• ผู้ที่มีปัญหาโรคเลือด เช่น เลือดออกง่าย, เลือดหยุดยาก เป็นต้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด
• หากท่านมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ ต้องให้แพทย์ผู้รักษาให้ยาควบคุมอาการของโรคดังกล่าวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนเข้ารับการปลูกผม
• ปรึกษาแพทย์ ประเมินกราฟผมที่ต้องใช้ปลูก เลือกเทคนิคในการปลูกผม แพทย์จะอธิบายขั้นตอนการผ่าตัดอย่างละเอียด
• เลือกกรอบหน้าผากใหม่ เช่น หน้าผากโค้งแบบผู้หญิง หรือหน้าผากเป็นเหลี่ยมแบบผู้ชาย
• ตรวจสุขภาพก่อนผ่าตัด ตรวจเลือด CBC,HIV
• งดยา ที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น Aspirin ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 5 วัน
• งดวิตามิน หรือสมุนไพร ที่ทานประจำบางชนิด เช่น วิตามิน อี จะทำให้เลือดหยุดยาก
• หยุดการสูบบุหรี่ อย่างน้อย 7 วัน
• เตรียมตัวสำหรับการพักฟื้น 4-5 วัน
คนส่วนใหญ่จะรู้สึกไม่เจ็บมาก คุณอาจจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยเมื่อฉีดยาชาที่หนังศีรษะ และเมื่อเริ่มรู้สึกชาแล้ว ก็จะไม่มีอาการเจ็บโดยการฉีดยาชาสามารถทำการฉีดซ้ำได้ เมื่อคนไข้เริ่มรู้สึกเจ็บ
จำนวนของการผ่าตัดขึ้นกับ
1. พื้นที่ของหนังศีรษะที่ต้องรับการปลูกผม
2. จำนวนและขนาดของกราฟท์ที่ต้องใช้
3. ความหนาแน่นของเส้นผมที่คนไข้ต้องการ
4. ลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น คนที่มีเส้นผมหนาใหญ่จะให้ความหนาแน่นของเส้นผมมากกว่าคนที่เส้นผมเล็ก การประเมินจำนวนของการผ่าตัดนั้นสามารถปรึกษาได้กับศัลยแพทย์ปลูกผม เมื่อมารับการตรวจ
โดยทั่วไปคุณควรจะรอให้ผมที่ปลูกแล้ว 8 ถึง 12 เดือน ขึ้นอย่างเต็มก่อนที่จะตัดสินใจ รับการผ่าตัดปลูกผมอีกครั้งเพื่อเพิ่มความหนาแน่นของเส้นผม
• สระผม ทางโรงพยาบาลจะทำการสระผมพร้อมทำแผลให้ทุกวันติดกัน 3- 5 วัน เพื่อให้แผลสะอาด และ ได้รับการดูแลรากผมอย่างถูกวิธีหลังผ่าตัด ซึ่งมีผลต่ออัตราการเติบโตของรากผม ทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่า 95 %
• เทคนิค FUT ไหมที่ใช้เย็บปิดแผลผ่าตัด เป็นไหมละลาย ภายใน1เดือน ให้มาตรวจแผลถ้าไหมละลายไม่หมด จะทำการตัดไหมออก เพื่อลดการระคายเคืองหนังศรีษะ
• ใช้ผ้าคาดศรีษะ (head band) อย่างน้อย 5 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการบวมไหลลงที่ตา และโหนกแก้ม
• ระยะแรกหลังการผ่าตัด เส้นผมจะร่วงไปก่อนโดยรากผมจะเข้าสู่ระยะพักประมาณ 3-4 เดือน จึงเริ่มงอกขึ้นมาใหม่ อัตราการยาวของเส้นผมจะเท่ากับเส้นผมปกติตามธรรมชาติ ดังนั้น ระยะเวลาที่ผมจะยาวทันกันและให้ผลปรากฏที่สวยงาม จึงอยู่ที่ประมาณ 8-10 เดือน
• ใช้แชมพูเด็กอ่อนสระผม
• รักษาบริเวณที่ปลูกผมต้องสะอาดและแห้งตลอดเวลา
• หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่ผม เช่น สเปรย์ฉีดผม, น้ำยาย้อมผม เป็นต้น เพราะอาจจะไปรบกวนรากผม อย่างน้อย 6 เดือน
• ห้ามใส่หมวก เพราะจะมีเหงื่อออก ความเค็มของเหงื่อจะทำให้บริเวณที่ปลูกผมไม่สะอาด เปียกชื้นจากเหงื่อมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
• มาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
• อาจจะมีการรับประทานยา หรือ ทายา เพื่อช่วยกระตุ้น การทำงานของรากผมให้แข็งแรง หรือป้องกันผมร่วง ตามคำแนะนำของแพทย์
• หยุดการสูบบุหรี่หลังผ่าตัด 2 อาทิตย์
การผ่าตัดปลูกผมมีความเสี่ยงค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นการผ่าตัดในชั้นผิวหนัง เหมือนกับการผ่าตัดเล็กที่ใช้ยาชาเฉพาะที่โดยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
1. อาการเจ็บปวด (Pain) หลังผ่าตัด 1-2 วันแรก อาจจะมีการตึงและเจ็บแผล ให้รับประทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์ให้มา
2. อาการบวมที่แผลผ่าตัด และใบหน้า อาการนี้จะเกิดขึ้นเป็นปกติ ประมาณ 4-5 วัน หลังผ่าตัด
3. เลือดออกบริเวณแผลผ่าตัด หรือบริเวณที่ปลูกผมหลังผ่าตัดใหม่ๆ 1-2 วัน
4. มีโอกาสเห็นแผลเป็นที่แผลผ่าตัด
5. อาการชาเฉพาะที่ จากยาชาที่ฉีด ซึ่งอาการชาที่เกิดขึ้นนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ ประมาณ 1 ถึง 2 เดือน หลังผ่าตัด
6. ความรู้สึกที่ไวต่อการสัมผัสหนังศรีษะน้อยลง
7. แผลอักเสบติดเชื้อบริเวณที่แผลผ่าตัด และบริเวณที่ปลูกผมสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลความสะอาดของแผลตามคำแนะนำของแพทย์ และสามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ
8. การแพ้ยาชาเฉพาะที่ สามารถเกิดขึ้นได้ แต่พบได้ไม่มาก อย่างไรก็ตามทางโรงพยาบาลของเราจะมีการเฝ้าระวังตลอดเวลาที่ทำการผ่าตัด โดยใช้อุปกรณ์ตรวจวัดความดันโลหิต, อัตราการเต้นของหัวใจ, สภาวะของออกซิเจนในเลือด รวมถึงมีการเตรียมอุปกรณ์และยาที่จำเป็นสำหรับการรักษาภาวะดังกล่าว
9. บริเวณที่ปลูกผมจะมีขนคุด ผมไม่ขึ้น จะเกิดการอักเสบบวมแดง
10. กราฟหลุดจากหนังศรีษะหลังผ่าตัด 5 วัน ทำให้ไม่มีรากผมที่จะสร้างเส้นผมใหม่
11. มีสะเก็ดแผล (Crusting) เกาะบริเวณหนังศรีษะ ให้สระผมบ่อยๆ สะเก็ดแผลเหล่านี้จะค่อยๆหลุดไป ใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ห้ามแกะออกเพราะจะทำให้กราฟหลุด
12. หนังศรีษะมีกลิ่น
13. มีอาการคันที่หนังศรีษะ หลังผ่าตัด1-2 อาทิตย์ สะเก็ดแผลหลุดอาการเหล่านี้ถึงจะหายไป
การบวมหลังผ่าตัดสามารถเกิดขึ้นได้
• ให้ผู้ป่วยสวมสายรัดศรีษะ (Head Band) ประมาณสามถึงห้าวัน เพื่อป้องกันและลดการบวมที่อาจจะเกิดขึ้นได้
• ผู้ป่วยยังสามารถใช้การประคบเย็นบริเวณที่เกิดการบวมครั้งละประมาณสิบนาที และพักสิบนาทีสลับกัน โดยทำอย่างน้อยสามวัน
• นอนศีรษะสูงประมาณ 45 องศา จะช่วยลดการบวมได้ดีเช่นกัน